ยินดีต้อนรับสู่เว็บบล๊อก

หน่วยที่ 2

หน่วยที่ 2 หลักการแนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับนวัฒกรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศ หน่วยที่ 2 1. หลักการและทฤษฏีทางจิตวิทยาการศึกษา ทฤษฏีการเรียนรู้ เป็นพื้นฐานของเทคโนโลยีการศึกษา แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ 1 . กลุ่มพฤติกรรม 2 . กลุ่มความรู้ ทฤษฏีจากกลุ่มพฤติกรรมนิยม ซึ่งทฤษฏีของนักจิตวิทยากลุ่มนี้มีหลายทฤษฏี เช่น ทฤษฏีการวางเงื่อนไข ทฤษฏีความสัมพันธ์ต่อเนื่อง ทฤษฏีการเสริมแรง ทฤษฏีการวางเงื่อนไข เจ้าของทฤษฏีนี้คือ พอฟลอบ กล่าวว่า ปฏิกิริยาบางอย่างไม่ได้เกิดจากสิ่งเร้า แต่สิ่งเร้าอาจจะทำให้เกิดการตอบสนองเช่นนั้นได้ ถ้ามีการวางเงื่อนไขที่ถูกต้องและเหมาะสม ทฤษฏีความสัมพันธ์ต่อเนื่อง เจ้าของทฤษฏีนี้คือ ทอนไดค์ กล่าวว่า สิ่งเร้าสามารถทำให้เกิดการตอบสนองหลายๆอย่าง และเขาได้ค้นพบกฎการเรียนรู้ที่สำคัญ คือ - กฎแห่งการผล - กฎแห่งการฝึกหัด - กฎแห่งความพร้อม ธอร์นไดค์ ผู้ให้กำเนิดทฤษฏีแห่งการเรียนรู้ และได้เสนอ หลักการเบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีทางการศึกษา ทฤษฏีการวางเงื่อนไขหรือทฤษฏีเสริมแรง เจ้าของ คือ สกินเนอร์ กล่าวว่า ปฏิกิริยาตอบสนองหนึ่งอาจไม่ใช่เนื่องมาจากสิ่งเร้าสิ่งเดียว สิ่งเร้านั้นก็อาจทำให้เกิดการตอบสนองได้ ถ้าได้มีการวางเงื่อนไขที่ถูกต้อง การนำทฤษฏีการเรียนรู้ของกลุ่มพฤติกรรมมาใช้กับเทคโนโลยีการศึกษานี้จะใช้ในการออกแบบการเรียนการสอนให้เข้ากับลักษณะดังต่อไปนี้ 1. การเรียนรู้เป็นเป็นขั้นเป็นตอน 2. การมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ของผู้เรียน 3. การได้ทราบผลในการเรียนรู้ทันที 4. การได้รับการเสริมแรง แนวคิดของสกินเนอร์นั้น นำมาใช้ในการสอนแบบสำเร็จรูป หรือการสอนแบบโปรแกรม สกินเนอร์เป็นผู้คิดบทเรียนโปรแกรมเป็นคนแรก หลักการและทฤษฏีเกี่ยวกับเทคโนโลยีทางการศึกษาในแง่ของการเรียนรู้ คาร์เพนเตอร์และเดล ได้ประมวลหลักการและทฤษฏีเทคโนโลยีทางการสึกษาในลักษณะของการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ 10 ประการ คือ 1. หลักการจูงใจ 2. การพัฒนามโนทัศน์ 3. กระบวนการเลือกและการสอนด้วยสื่อเทคโนโลยี 4. การจัดระเบียบประสบการณ์เทคโนโลยีทางการศึกษา 5. การมีส่วนรวมและการปฏิบัติ 6. การฝึกซ้ำและการเปลี่ยนแปลงสิ่งเร้าบ่อยๆ 7. อัตราการเสนอสื่อในการเรียนการสอน 8. ความชัดเจน ความสอดคล้อง และความเป็นผล 9. การถ่ายโยงที่ดี 10. การให้รู้ผล ส่วนบูเกสสกี ได้สนับสนุนว่า การเรียนรู้จะเป็นผลจากการกระทำของผู้เรียน ไม่ใช้กระบวนการถ่ายทอดของผู้สอน หากแต่ผู้สอนเป็นเพียงผู้เตรียมสถานการณ์และจัดระเบียบประสบการณ์ที่ทันสมัยไว้ให้ เพื่อผู้เรียนจะได้เชื่อมโยงความรู้ใหม่ได้สะดวกซึ่งหมายถึงว่า เทคโนโลยีทางการศึกษาจะเป็นตัวการประสานความรู้โดยตรงแก่ผู้เรียน นอกจากนี้ หลักการและทฤษฏีที่เกี่ยวกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาต้องอาศัยวิธีการที่สำคัญอย่างน้อยอีก 2 วิธี คือ วิธีการเชิงมานุษยวิทยาและวิธีการสอนเชิงระบบ ทฤษฏีการรับรู้ เมื่อมีสิ่งเร้าเป็นตัวกำหนดให้เกิดการเรียนรู้ได้นั้นจะต้องมีการรับรู้ เกิดขึ้น ก่อน เพราะการรับรู้เป็นหนทางที่นำไปสู่การแปลความหมายที่เข้าใจกันได้ ซึ่งหมายถึงการรับรู้เป็นพื้นฐานของการเรียนรู้ ถ้าไม่มีการรับรู้เกิดขึ้น การเรียนรู้ย่อมเกิดขึ้นไม่ได้ การรับรู้จึงเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้เกิดความคิดรวบยอด ทัศนคติของมนุษย์อันเป็นส่วนสำคัญยิ่งในกระบวนการเรียนการสอนและการใช้สื่อ การสอนจึงจำเป็นจะต้องให้เกิดการรับรู้ที่ถูกต้องมากที่สุด แนวคิดของรศ.ดร.สาโรช โศภี ได้กล่าวเกี่ยวกับทฤษฎีการรับรู้ว่าการรับรู้เป็นผลเนื่องมาจากการที่ มนุษย์ใช้อวัยวะรับสัมผัส (Sensory motor) ซึ่งเรียกว่า เครื่องรับ (Sensory) ทั้ง 5 ชนิด คือ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวหนัง การรับรู้จะเกิดขึ้นมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับสิ่งที่มีอิทธิพล หรือปัจจัยในการรับรู้ ได้แก่ ลักษณะของผู้รับรู้ ลักษณะของสิ่งเร้า แนวคิดของ ฉลองชัย สุรวัฒนบูรณ์ และ วไลพร ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม กล่าวว่า การที่จะเกิดการเรียนรู้ได้นั้นจะต้องอาศัยการรับรู้ที่เกิดจากการเปลี่ยน แปลงพฤติกรรมอันเป็นผลมาจากการได้รับประสบการณ์ การรับรู้มีขบวนการที่ทำให้เกิดการรับรู้ โดยการนำความรู้เข้าสู่สมองด้วยอวัยวะสัมผัส และเก็บรวบรวมจดจำไว้สำหรับเป็นส่วนประกอบสำคัญที่ทำให้เกิดมโนภาพและ ทัศนคติ ดังนั้นการมีสิ่งเร้าที่ดีและมีองค์ประกอบของการรับรู้ที่สมบูรณ์ถูกต้อง ก็จะทำให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีด้วยซึ่งการรับรู้เป็นส่วนสำคัญยิ่งต่อการรับ รู้ แนวคิดของ Fleming ให้ข้อเสนอแนะว่ากระบวนการรับรู้ยังสามารถใช้ประโยชน์ในการเรียนการสอนด้วย มีเหตุผลหลายประการที่นักออกแบบเพื่อการเรียนการสอนจำต้อง รู้และนำหลักการของการรับรู้ไปประยุกต์ใช้กล่าวคือ 1.โดย ทั่วไปแล้วสิ่งต่าง ๆ เช่น วัตถุ บุคคล เหตุการณ์ หรือสิ่งที่มีความสัมพันธ์กัน ถูกรับรู้ดีกว่า มันก็ย่อมถูกจดจำได้ดีกว่าเช่นกัน 2.ใน การเรียนการสอนจำเป็นต้องหลีกเลี่ยงการรับรู้ที่ผิดพลาด เพราะถ้าผู้เรียนรู้ข้อความหรือเนื้อหาผิดพลาด เขาก็จะเข้าใจผิดหรืออาจเรียนรู้บางสิ่งที่ผิดพลาดหรือไม่ตรงกับความเป็น จริง 3.เมื่อ มีความต้องการสื่อในการเรียนการสอนเพื่อใช้แทนความเป็นจริงเป็นเรื่องสำคัญ ที่จะต้องรู้ว่าทำอย่างไร จึงจะนำเสนอความเป็นจริงนั้นได้อย่างเพียงพอที่จะให้เกิดการรับรู้ตามความ มุ่งหมาย จิตวิทยาการเรียนรู้ วรกวิน กล่าวว่า การเรียนรู้ หมายถึง กระบวนการเปลี่ยนพฤติกรรม ซึ่งหมายถึงกิจกรรมที่ผู้เรียนแสดงออกและสามารถสังเกตและวัดได้ การศึกษากระบวนการเรียนรู้จึงต้องศึกษาเรื่องของพฤติกรรมมนุษย์ที่เปลี่ยนไป ธรรมชาติของการเรียนรู้มี 4 ขั้นตอน 1. ความต้องการของผู้เรียน 2. สิ่งเร้าที่น่าสนใจ 3. การตอบสนอง 4. การได้รับรางวัล ลำดับขั้นตอนการเรียนรู้ ในกระบวนการเรียนรู้ของคนเรานั้น จะประกอบด้วยลำดับขั้นตอนพื้นฐานที่สำคัญ 3 ขั้นตอนด้วยกัน คือ ประสบการณ์ ความเข้าใจและความนึกคิด กลุ่มความรู้ นักจิตวิทยากลุ่มนี้เน้นความสำคัญของส่วนรวม ดังนั้นแนวคิดของการสอนซึ่งมุ่งให้ผู้เรียนมองเห็นส่วนรวมก่อน โดยเน้นจากประสบการณ์ การนำแนวคิดของนักจิตวิทยากลุ่มความรู้มาใช้คือ การจัดการเรียนรู้ต้องให้ผู้เรียนได้รับจากประสาทสัมผัส เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ จึงเป็นแนวคิดในการเกิดการเรียนการสอนผ่านสื่อที่เรียกว่า โสตทัศนศึกษา การประยุกต์ทฤษฏีมาใช้ในนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา การจัดการเรียนการสอนปัจจุบันได้นำทฤษฏีและหลักการแนวคิดทางเทคโนโลยีการศึกษา ในทักษะต่างๆมาใช้ร่วมกันอย่างผสมผสานเพื่อก่อให้เกิดคุณภาพของการสอน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น