หน่วยที่ 3
หน่วยที่ 3 การสื่อสารการเรียนการสอน
บทนำ
การสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิต เนื่องจากมนุษย์จำเป็นต้องติดต่อสื่อสารกันอยู่ตลอดเวลา ซึ่งการสื่อสารมีบทบาทที่สำคัญต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์เป็นอย่างยิ่ง การสื่อสารทำให้คนมีความรู้และโลกทัศน์ที่กว้างขวางขึ้น การสื่อสารจะมีหลายรูปแบบหลากหลายกันออกไป แต่ก็ยังทำให้มนุษย์สามารถสืบทอดพัฒนา เรียนรู้ และรับรู้วัฒนธรรมของตนเองและสังคมได้ การสื่อสารจึงเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาประเทศ สร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าแก่ชุมชน และสังคมในทุกด้าน
ความหมายของการสื่อสาร
คำว่า การสื่อสาร (communications) มีที่มาจากรากศัพท์ภาษาลาตินว่า communis หมายถึง ความเหมือนกันหรือร่วมกัน
เดนนิส แมคเควล (McQuail, 2005) กล่าวว่า การสื่อสารหมายถึงการให้และการรับความหมาย การถ่ายทอดและการรับสาร ซึ่งรวมถึงแนวคิดของการโต้ตอบ แบ่งปัน และมีปฏิสัมพันธ์กันด้วย
สุมน อยู่สิน กล่าวว่า การสื่อสาร คือ กระบวนการแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสารระหว่างบุคคลต่อบุคลหรือบุคคลต่อกลุ่ม โดยใช้สัญลักษณ์ สัญญาณ หรือพฤติกรรมที่เข้าใจกัน
ชาร์ลส์ อี ออสกูด (Charles E. Osgood) กล่าวว่า "ความหมายโดยทั่วไป การสื่อสารจะเกิดขึ้นเมื่อฝ่ายหนึ่ง คือ ผู้ส่งสาร มีอิทธิพลต่ออีกฝ่ายหนึ่ง คือ ผู้รับสาร โดยใช้สัญญลักษณ์ต่าง ๆ ซึ่งถูกส่งผ่านสื่อที่เชื่อมระหว่างสองฝ่าย"
จากข้างต้นจะเห็นได้ว่า การสื่อสาร หมายถึง การถ่ายทอดสารจากผู้ส่งสารผ่านสิ่งต่างๆไปยังผู้รับสารทำให้เกิดการรับรู้ร่วมกัน และ มีปฏิกิริยาตอบสนองต่อกัน ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการถ่ายทอดไปยังผู้รับสาร
บริบททางการสื่อสาร
จากรูปภาพบริบททางการสื่อสาร จะอธิบายได้ว่า ผู้ส่งสารถ่ายทอดข้อมูลคือสารผ่านไปยังสื่อต่างๆ ส่งไปยังผู้รับสารเพื่อที่จะให้ผู้รับสารทราบข้อมูล และเข้าใจตรงกันกับผู้ส่งสาร และตอบสนองกลับไปยังผู้ส่งสาร
การสื่อสารในบริบทต่างๆ
การสื่อสารในครอบครัว
ต้องคำนึงถึงประสบการณ์ที่ไม่เหมือนกันและการใช้ข้อความบางอย่าง เพราะอาจทำให้ไม่เข้าใจกันและอาจทำให้เกิดปัญหาในครอบครัวได้
การสื่อสารในโรงเรียน
ควรระมัดระวังท่าทาง การพูดที่ใช้ติดต่อสื่อสารกันและการสื่อสารในโรงเรียน อาจมีทั้งการสื่อสารระหว่างบุคคลหรือสื่อสารในกลุ่ม ซึ่งข้อเท็จจริงบางอย่างไม่ควรนำมาเผยแพร่ เพราะจะมีผลเสียหายสะท้อนกลับมา
การสื่อสารในวงสังคมทั่วไป
ควรใช้คำทักทายที่เหมาะสมสุภาพ และควรศึกษาประเพณีแต่ละท้องถิ่นด้วย เพราะการทักทายของแต่ละท้องถิ่นนั้นมีทำเนียมการทักทายที่ไม่เหมือนกันและควรระวังการใช้ถ้อยคำที่สุภาพ
ความสำคัญของการสื่อสาร
การสื่อสารมีความสำคัญดังนี้
1. การสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์ทุกเพศ ทุกวัย ไม่มีใครที่จะดำรงชีวิตได้ โดยปราศจากการสื่อสาร
2. การสื่อสารก่อให้เกิดการประสานสัมพันธ์กันระหว่างบุคคลและสังคม ช่วยเสริมสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างคนในสังคม
3. การสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาความเจริญก้าวหน้าทั้งตัวบุคคลและสังคม การพัฒนาทางสังคมในด้านคุณธรรม จริยธรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฯลฯ
องค์ประกอบที่สำคัญของการสื่อสาร มี 4 ประการ ดังนี้
1. ผู้ส่งสาร (sender) หรือ แหล่งสาร (source) หมายถึง บุคคล กลุ่มบุคคล หรือ หน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการส่งสาร เช่น ผู้พูด ผู้เขียน กวี ศิลปิน นักจัดรายการวิทยุ โฆษกรัฐบาล องค์การ สถาบัน สถานีวิทยุกระจายเสียง สถานีวิทยุโทรทัศน์ กองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ หน่วยงานของรัฐ บริษัท สถาบันสื่อมวลชน เป็นต้น
คุณสมบัติของผู้ส่งสาร
1. เป็นผู้ที่มีเจตนาแน่ชัดที่จะให้ผู้อื่นรับรู้จุดประสงค์ของตนในการส่งสาร แสดงความคิดเห็น หรือวิจารณ์ ฯลฯ
2. เป็นผู้ที่มีความรู้ ความเข้าใจในเนื้อหาของสารที่ต้องการจะสื่อออกไปเป็นอย่างดี
3. เป็นผู้ที่มีบุคลิกลักษณะที่ดี มีความน่าเชื่อถือ แคล่วคล่องเปิดเผยจริงใจ และมีความรับผิดชอบ ในฐานะเป็นผู้ส่งสาร
4. เป็นผู้ที่สามารถเข้าใจความพร้อมและความสามารถในการรับสารของผู้รับสาร
5. เป็นผู้รู้จักเลือกใช้กลวิธีที่เหมาะสมในการส่งสารหรือนำเสนอสาร
2. สาร (message) หมายถึง เรื่องราวที่มีความหมาย หรือสิ่งต่าง ๆ ที่อาจอยู่ในรูปของข้อมูล ความรู้ ความคิด ความต้องการ อารมณ์ ฯลฯ ซึ่งถ่ายทอดจากผู้ส่งสารไปยังผู้รับสารให้ได้รับรู้ที่สามารถทำให้เกิดการรับรู้ร่วมกันได้ เช่น ข้อความที่พูด ข้อความที่เขียน บทเพลงที่ร้อง รูปที่วาด เรื่องราวที่อ่าน ท่าทางที่สื่อความหมาย เป็นต้น
3. สื่อ หรือช่องทาง (media or channel) เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอีกประการหนึ่งในการสื่อสาร หมายถึง สิ่งที่เป็นพาหนะของสาร ทำหน้าที่นำสารจากผู้ส่งสารไปยังผู้รับสาร ผู้ส่งสารต้องอาศัยสื่อหรือช่องทางทำหน้าที่นำสารไปสู่ผู้รับสาร
4. ผู้รับสาร (receiver) หมายถึง บุคคล กลุ่มบุคคล หรือมวลชนที่รับเรื่องราวข่าวสาร
จากผู้ส่งสาร และแสดงปฏิกิริยาตอบกลับ (Feedback) ต่อผู้ส่งสาร
หลักในการสื่อสาร
การสื่อสารจะประสบความสำเร็จตรงตาม จุดประสงค์หรือไม่ผู้ส่งสารควรคำนึงถึงหลักการสื่อสาร ดังนี้ (ภาควิชาภาษาไทย สถาบันราชภัฏเทพสตรี ลพบรี, 2542: 13-14)
1. ผู้ที่จะสื่อสารให้ได้ผลและเกิดประโยชน์ จะต้องทำความเข้าใจเรื่ององค์ประกอบในการสื่อสาร และปัจจัยทางจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับระบบการรับรู้ การคิด การเรียนรู้ การจำ ซึ่งมีผลต่อประสิทธิภาพ ในการสื่อสาร
2. ผู้ที่จะสื่อสารต้องคำนึงถึงบริบทในการสื่อสาร บริบทในการสื่อสาร หมายถึง สิ่งที่อยู่แวดล้อมที่มีส่วนในการกำหนดรู้ความหมายหรือความเข้าใจในการสื่อ สาร
3. คำนึงถึงกรอบแห่งการอ้างอิง (frame of reference) มนุษย์ทุกคนจะมีพื้นความรู้ทักษะ เจตคติ ค่านิยม สังคม ประสบการณ์ ฯลฯ เรียกว่าภูมิหลังแตกต่างกัน ถ้าคู่สื่อสารใดมีกรอบแห่ง การอ้างอิงคล้ายกัน ใกล้เคียงกัน จะทำให้การสื่อสารง่ายขึ้น
4. การสื่อสารจะมีประสิทธิผล เมื่อผู้ส่งสารส่งสารอย่างมีวัตถุประสงค์ชัดเจน ผ่านสื่อหรือช่องทาง ที่เหมาะสม ถึงผู้รับสารที่มีทักษะในการสื่อสารและมีวัตถุประสงค์สอดคล้องกัน5. ผู้ส่งสารและผู้รับสาร ควรเตรียมตัวและเตรียมการล่วงหน้า เพราะจะทำให้การสื่อสารราบรื่น สะดวก รวดเร็ว เป็นไปตามวัตถุประสงค์และสามารถแก้ไขได้ทันท่วงที หากจะเกิดอุปสรรค์ ที่จุดใดจุดหนึ่ง
6. คำนึงถึงการใช้ทักษะ เพราะภาษาเป็นสัญลักษณ์ที่มนุษย์ตกลงใช้ร่วมกันในการ
สื่อความหมาย ซึ่งถือได้ว่าเป็นหัวใจในการสื่อสาร คู่สื่อสารต้องศึกษาเรื่องการใช้ภาษา และสามารถใช้ภาษาให้เหมาะสมกับกาลเทศะ บุคคล เนื้อหาของสาร และช่องทางหรือสื่อ ที่ใช้ในการสื่อสาร
7. คำนึงถึงปฏิกิริยาตอบกลับตลอดเวลา ถือเป็นการประเมินผลการสื่อสาร ที่จะทำให้คู่สื่อสารรับรู้ผลของการสื่อสารว่าประสบผลดีตรงตามวัตถุหรือไม่ ควรปรับปรุง เปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขข้อบกพร่องใด เพื่อที่จะทำให้การสื่อสารเกิดผลตามที่ต้องการ
วัตถุประสงค์ของการสื่อสาร
คณาจารย์ มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย (2551: 17) กล่าวถึง วัตถุประสงค์ของการสื่อสารไว้ดังนี้
1. เพื่อแจ้งให้ทราบ (inform) ในการทำการสื่อสาร ผู้ทำการสื่อสารควรมีความ ต้องการที่จะบอกกล่าวหรือชี้แจงข่าวสาร เรื่องราว เหตุการณ์ หรือสิ่งอื่นใดให้ผู้รับสารได้รับทราบ
2. เพื่อสอนหรือให้การศึกษา (teach or education) ผู้ทำการสื่อสารอาจมีวัตถุประสงค์เพื่อจะ ถ่ายทอดวิชาความรู้ หรือเรื่องราวเชิงวิชาการ เพื่อให้ผู้รับสารได้มีโอกาสพัฒนาความรู้ให้เพิ่มพูนยิ่งขึ้น
3. เพื่อสร้างความพอใจหรือให้ความบันเทิง (please of entertain) ผู้ทำการสื่อสารอาจ ใช้วัตถุประสงค์ในการสื่อสารเพื่อสร้างความพอใจ หรือให้ความบันเทิงแก่ผู้รับสาร โดยอาศัยสารที่ตนเองส่งออกไป ไม่ว่าจะอยู่ในรูปของการพูด การเขียน หรือการแสดงกิริยาต่าง ๆ
4. เพื่อเสนอหรือชักจูงใจ (Propose or persuade) ผู้ทำการสื่อสารอาจใช้วัตถุประสงค์ใน การสื่อสารเพื่อให้ข้อเสนอแนะ หรือชักจูงใจในสิ่งใดสิ่งหนึ่งต่อผู้รับสาร และอาจชักจูงใจให้ผู้รับสารมีความคิดคล้อยตาม หรือยอมปฏิบัติตามการเสนอแนะของตน
5. เพื่อเรียนรู้ (learn) วัตถุประสงค์นี้มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับผู้รับสาร การแสวงหาความรู้ ของผู้รับสาร โดยอาศัยลักษณะของสาร ในกรณีนี้มักจะเป็นสารที่มีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับวิชาความรู้ เป็นการหาความรู้เพิ่มเติมและเป็นการทำความเข้าใจกับเนื้อหาของสารที่ผู้ทำการสื่อสารถ่ายทอดมาถึงตน
6. เพื่อกระทำหรือตัดสินใจ (dispose or decide) ในการดำเนินชีวิตของคนเรามี สิ่งหนึ่งที่ต้องกระทำ อยู่เสมอก็คือ การตัดสินใจกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งการตัดสินใจ นั้นอาจได้รับการเสนอแนะ หรือชักจูงใจให้กระทำอย่างนั้นอย่างนี้จากบุคคลอื่นอยู่เสมอ ทางเลือกในการ ตัดสินใจของเราจึงขึ้นอยู่กับข้อเสนอแนะนั้น
ประเภทของการสื่อสาร
การจำแนกประเภทของการสื่อสาร มีผู้จำแนกไว้หลาย ๆ ประเภท โดยใช้เกณฑ์ในการพิจารณา ตามจุดประสงค์ของการศึกษาหรือวัตถุประสงค์ที่ต้องการจะนำเสนอ ซึ่งสรุปได้ตามตารางดังนี้
1. จำนวนผู้ทำการสื่อสาร
1.1 การสื่อสารภายในตัวบุคคล (intrapersonalcommunication) -
เช่น --การพูดกับตัวเอง
- การคิดคำนึงเรื่องต่าง ๆ
- การร้องเพลงฟังเอง
- การคิดถึงงานที่จะทำ เป็นต้น
1.2 การสื่อสารระหว่างบุคคล (interpersonalcommunication)
เช่น - การพูดคุยระหว่างบุคคล 2 คนขึ้นไป
- การพูดคุย
- การเขียนจดหมาย
- การโทรศัพท์
- การประชุมกลุ่มย่อย เป็นต้น
1.3 การสื่อสารกลุ่มใหญ่(large group communication)
เช่น - การอภิปรายในหอประชุม
- การพูดหาเรื่องเลือกตั้ง
- การปราศรัยในงานสังคม
- การกล่าวปาฐกถา ในหอประชุม
- การบรรยายทางวิชาการ ณ ศูนย์เรียนรวม เป็นต้น
1.4 การสื่อสารในองค์กร (organizationalcommunication)
เช่น - การสื่อสารในบริษัท
- การสื่อสารในหน่วยงาน ราชการ
- การสื่อสารในโรงงาน
- การสื่อสารของธนาคาร เป็นต้น
1.5 การสื่อสารมวลชน(mass communication) การสื่อสารที่ผ่านสื่อเหล่านี้
คือ - หนังสือพิมพ์, นิตยสาร
- วิทยุ
- โทรทัศน์
- ภาพยนตร์เป็นต้น
2.การเห็นหน้ากัน
2.1 การสื่อสารแบบเผชิญหน้า(face to face communication)
เช่น - การสนทนาต่อหน้ากัน
- การประชุมสัมมนา
- การสัมภาษณ์เฉพาะหน้า
- การเรียนการสอนในชั้นเรียน
- การประชุมกลุ่มย่อย เป็นต้น
2.2 การสื่อสารแบบไม่เผชิญหน้า(interposed communication)
เช่น - เอกสารการสื่อสารที่ผ่านสื่อมวลชนทุกชนิด คือ
- หนังสือพิมพ์
- วิทยุ
- โทรทัศน์
- วีดิทัศน์การสื่อสารที่ผ่าน สื่อมวลชนทุกชนิด
- จดหมาย/โทรเลข/โทรสาร
- อินเตอร์เน็ตเป็นต้น
3. ความสามารถในการโต้ตอบ
3.1 การสื่อสารทางเดียว(one-way communication)การสื่อสารที่ผ่านสื่อมวลชนทุกชนิด
คือ - วิทยุ/โทรทัศน์/วีดิทัศน์
- โทรเลข/โทรสาร
- ภาพยนตร์เป็นต้น
3.2 การสื่อสารสองทาง (two-way communication)
เช่น - การสื่อสารระหว่างบุคคล
- การสื่อสารในกลุ่ม
- การพูดคุย / การสนทนา เป็นต้น
4. ความแตกต่างระหว่างผู้รับสารและผู้ส่งสาร
4.1 การสื่อสารระหว่างเชื้อชาติ(interracial communication)
เช่น - ชาวไทยสื่อสารกับคน ต่างประเทศ
- คนจีน, มาเลย์, อินเดีย ใน ประเทศมาเลเซีย สื่อสารกัน เป็นต้น
4.2 การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม (gosscultural communication)
เช่น - การสื่อสารระหว่างคนไทยภาคใต้กับภาคเหนือหรือ ภาคอื่น ๆ
- ชาวไทยสื่อสารกับชาวเขา เป็นต้น
4.3 การสื่อสารระหว่างประเทศ(international communication)
เช่น - การเจรจาติดต่อสัมพันธ์ทางการทูต
- การเจรจาในฐานะตัวแทน รัฐบาล เป็นต้น
5. การใช้ภาษา
5.1 การสื่อสารเชิงวัจนภาษา (verbal communication)
เช่น - การพูด, การบรรยาย
- การเขียนจดหมาย, บทความเป็นต้น
5.2 การสื่อสารเชิงอวัจนภาษา (non-verbal communication)
เช่น - การสื่อสารโดยไม่ใช้ถ้อยคำ, คำพูด
- อาการภาษา, กาลภาษา, เทศภาษา, สัมผัสภาษา, เนตรภาษา, วัตถุภาษาและปริภาษา เป็นต้น
อุปสรรคในการสื่อสาร
อุปสรรค ในการสื่อสาร หมายถึง สิ่งที่ทำให้การสื่อสารไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ ของผู้สื่อสาร และผู้รับสาร อุปสรรคในการสื่อสารอาจเกิดขึ้นได้ทุกขั้นตอนของกระบวนการสื่อสาร
สิ่งที่เป็นอุปสรรค์ในการสื่อสารมีดังนี้
1. อุปสรรคที่เกิดจากผู้ส่งสาร
1.1 ผู้ส่งสารขาดความรู้ความเข้าใจและข้อมูลเกี่ยวกับสารที่ต้องการจะสื่อ
1.2 ผู้ส่งสารใช้วิธีการถ่ายทอดและการนำเสนอที่ไม่เหมาะสม
1.3 ผู้ส่งสารไม่มีบุคลิกภาพที่ไม่ดี และไม่เหมาะสม
1.4 ผู้ส่งสารมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อการส่งสาร
1.5 ผู้ส่งสารขาดความพร้อมในการส่งสาร
1.6 ผู้ส่งสารมีความบกพร่องในการวิเคราะห์ผู้รับสาร
2. อุปสรรคที่เกิดจากสาร
2.1 สารไม่เหมาะสมกับผู้รับสาร อาจยากหรือง่ายเกินไป
2.2 สารขาดการจัดลำดับที่ดี สลับซับซ้อน ขาดความชัดเจน
2.3 สารมีรูปแบบแปลกใหม่ยากต่อความเข้าใจ
2.4 สารที่ใช้ภาษาคลุมเครือ ขาดความชัดเจน
3. อุปสรรคที่เกิดขึ้นจากสื่อ หรือช่องทาง
3.1 การใช้สื่อไม่เหมาะสมกับสารที่ต้องการนำเสนอ
3.2 การใช้สื่อที่ไม่มีประสิทธิภาพที่ดี
3.3 การใช้ภาษาที่ไม่เหมาะสมกับระดับของการสื่อสาร
4. อุปสรรคที่เกิดจากผู้รับสาร
4.1 ขาดความรู้ในสารที่จะรับ
4.2 ขาดความพร้อมที่จะรับสาร
4.3 ผู้รับสารมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อผู้ส่งสาร
4.4 ผู้รับสารมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อสาร
4.5 ผู้รับสารมีความคาดหวังในการสื่อสารสูงเกินไป
การสื่อสารกับการศึกษา
การ เรียนการสอน เป็นการสื่อสารอีกรูปแบบหนึ่ง มีทั้งผู้ส่งสาร อันได้แก่ครูผู้สอน มีสาร คือความรู้หรือประสบการณ์ที่จัดขึ้น ผู้รับสารคือ ผู้เรียน มีกระบวนการเรียนการสอนประกอบด้วยเครื่องมือ สื่อการเรียนการสอนต่างๆ ภายใต้สถานการณ์ที่จัดขึ้นในห้องเรียน หรือสถานการณ์ที่จัดขึ้นในสถานที่อื่น และมีจุดหมายของหลักสูตรเป็นเครื่องนำทาง
กระบวนการสื่อสาร
โดยจะเริ่มจากที่ผู้ส่งข่าวสาร (Sender) ทำหน้าที่เก็บรวบรวม แนวความคิดหรือข้อมูล จากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ เมื่อต้องการส่งข่าวไปยังผู้รับข่าวสาร ก็จะแปลงแนวความคิดหรือข้อมูล ที่เกี่ยวข้องออกมาเป็น ตัวอักษร น้ำเสียง สี การเคลื่อนไหว ฯลฯ ซึ่งเรียกว่าข่าวสาร (Massage) จะได้รับการใส่รหัส(Encoding) แล้วส่งไปยังผู้รับข่าวสาร (Receivers) ผ่านสื่อกลาง (Media) ในช่องทางการสื่อสาร (Communication Channels) ประเภทต่าง ๆ หรืออาจจะถูกส่งจากผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสารโดยตรงก็ได้ ผู้รับข่าวสาร เมื่อได้รับข่าวสารแล้วจะถอดรหัส (Decoding) ตามความเข้าใจและประสบการณ์ในอดีต หรือสภาพแวดล้อมในขณะนั้น และมีปฏิกิริยาตอบสนองกลับไปยังผู้ส่งข่าวสารซึ่งอยู่ในรูปขอความรู้ ความเข้าใจ การตอบรับ การปฏิเสธหรือการนิ่งเงียบก็เป็นได้ ทั้งนี้ข่าวสารที่ถูกส่งจากผู้ส่งข่าวสารอาจจะไม่ถึงผู้รับข่าวสารทั้งหมดก็เป็นได้ หรือข่าวสารอาจถูกบิดเบือนไปเพราะในกระบวนการสื่อสาร ย่อมมีโอกาสเกิดสิ่งรบกวน หรือตัวแทรกแซง(Noise or Interferes) ได้ ทุกขั้นตอนของการสื่อสาร
องค์ประกอบที่สำคัญของการสื่อสารสามารถแบ่งได้ 5 ส่วน ดังนี้
1. ผู้ส่งสาร หมายถึง ผู้ต้องการติดต่อ หรือผู้ส่งเรื่องราว ในที่นี้คือชายหนุ่มที่ส่งจดหมายไปถึงหญิงสาว
2. ผู้รับสาร หมายถึง ผู้รับการติดต่อ หรือผู้รับเรื่องราว ในที่นี้คือหญิงสาวที่ได้รับจดหมายจากชายหนุ่ม
3. สาร หมายถึง เนื้อหาสาระของเรื่องราวที่ติดต่อให้บุคคลอื่นรับรู้ ในที่นี้คือข้อความในจดหมาย
4. สื่อ หมายถึง ช่องทางในการส่งสารไปยังผู้รับ ในที่นี้คือ จดหมายที่ผู้ส่งสารส่งไปยังผู้รับ
5. ผลตอบสนอง หรือปฏิกิริยาตอบสนอง หมายถึง ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นของผู้รับสาร ซึ่งรับรู้ความหมายของสาร ที่ผู้ส่งสารส่งมาให้และเกิดปฏิกิริยาตอบสนองต่อสาร
ภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร
ภาษาเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้การสื่อสารนั้นเข้าใจกันทั้งสองฝ่าย ภาษาที่ใช้ในการสื่อสารมี 2 ประเภท คือ วัจนภาษาและอวัจนภาษา
วัจนภาษา หมายถึง ภาษาถ้อยคำ ได้แก่ คำพูดหรือตัวอักษรที่กำหนดใช้ร่วมกันในสังคม ซึ่งหมายรวมทั้งเสียง วัจนภาษาแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
1. ภาษาพูด ภาษาพูดเป็นภาษาที่มนุษย์เปล่งเสียงออกมาเป็นถ้อยคำเพื่อสื่อสารกับผู้อื่น
2. ภาษาเขียน ภาษาเขียนเป็นภาษาที่มนุษย์ใช้อักษรเป็นเครื่องหมายแทนเสียงพูดในการสื่อสาร ภาษาเขียนเป็นสัญลักษณ์ของการพูด
การใช้วัจนภาษาในการสื่อสาร
1. ความชัดเจนและถูกต้อง กล่าวคือ ต้องเป็นภาษาที่เข้าใจตรงกัน ทั้งผู้รับสาร และ
ผู้ส่งสาร และถูกต้องตามกฎเกณฑ์และเหมาะสมกับวัฒนธรรมในการใช้ภาษาไทย
2. ความเหมาะสมกับบริบทของภาษาเพื่อให้การสื่อสารบรรลุเป้าหมาย ผู้ส่งสารต้องคำนึงถึง
อวัจนภาษา หมายถึง เป็นการสื่อสารโดยไม่ใช้ถ้อยคำ ทั้งที่เป็นภาษาพูดและภาษาเขียน เป็นภาษาที่มนุษย์ใช้สื่อสารกัน โดยใช้อากัปกิริยา ท่าทาง น้ำเสียง สายตาหรือ ใช้วัตถุ
ภาษาที่ใช้ในการสื่อสารแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1. วัจนภาษา ซึ่งเป็นถ้อยคำ คือภาษาพูดที่ใช้สื่อสารกัน
2. อวัจนภาษา ซึ่งไม่ใช่ถ้อยคำ แต่อาจจะเป็นภาษาสัญลักษณ์ที่สามารถเข้าใจได้ตรงกัน
ระดับภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร
1. ภาษาระดับพิธีการ
2. ภาษาระดับทางการ
3. ภาษาระดับกึ่งทางการ
4. ภาษาระดับสนทนา
5. ภาษาระดับกันเอง
ประโยชน์ของการสื่อสาร
ทำให้ผู้ส่งสารและผู้รับสารบรรลุวัตถุประสงค์ได้อย่างราบรื่น เกิดความรู้สึกที่ดีต่อกันและลดความขัดแย้งที่เกิดจากการไม่เข้าใจกัน
สรุป
การสื่อสารจะสรุปได้ว่า มนุษย์ใช้ในการติดต่อสื่อสารกันอยู่ตลอดเวลา และใช้ในการดำรงชีวิต การสื่อสารจึงมีบทบาทที่สำคัญต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์เป็นอย่างมาก จะเห็นได้ว่า เวลาจะไปไหน จะมีการสื่อสารกันตลอดเวลาซึ่งการสื่อสารจะมีหลายรูปแบบแตกต่างกันออกไป แต่ผู้ส่งสารกับผู้รับสารเข้าใจกันก็จะทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ได้อย่างราบรื่น แต่การสื่อสารต้องคำนึงถึงสื่อ สาร ข้อความ เพราะผู้รับสารมีความแตกต่างระหว่างบุคคลกัน ประสบการณ์ เพราะฉะนั้น ต้องคำนึงถึงข้อความ เพราะอาจส่งผลทำให้เกิดการเข้าใจผิดซึ่งกัน และมีผลกระทบตามมา การสื่อสารมีทั้งข้อดีและข้อเสีย
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น