หน่วยที่ 4
หน่วยที่ 4 จิตวิทยาการเรียนการสอน
จิตวิทยาการเรียนรู้
การเรียนรู้ เป็นกระบวนการสำคัญ ในการดำรงชีวิตของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์หรือสัตว์เริ่มมีการเรียนรู้ตั้งแต่แรกเกิดจนกระทั่งตาย แต่สำหรับการเรียนรู้ช่วยให้มนุษย์มีพัฒนาการที่แตกต่างไปจากสัตว์
ความหมายของการเรียนรู้
การเรียนรู้เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ที่เกิดจากประสบการณ์ที่ได้ศึกษา หรือ พบเจอ แล้วแสดงพฤติกรรมนั้นออกมา
ประสบการณ์ทางตรง คือ ประสบการณ์ที่บุคคลได้พบ หรือสัมผัสด้วยตนเอง และในการมีประสบการณ์ตรงบางอย่างอาจจะทำให้บุคคลมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม แต่ไม่ถือว่าเป็นการเรียนรู้ ได้แก่
1. พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงเนื่องจากฤทธิ์ยา หรือสิ่งเสพติดบางอย่าง
2. พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงเนื่องจากความเจ็บป่วยทางกายหรือทางใจ
3. พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงเนื่องจากความเหนื่อยล้าของร่างกาย
4. พฤติกรรมที่เกิดจากปฏิกิริยาสะท้อนต่างๆ
ประสบการณ์ทางอ้อม คือ ประสบการณ์ที่ผู้เรียนไม่ได้พบหรือสัมผัสด้วยตนเองโดยตรง แต่อาจได้รับประสบการณ์ทางอ้อมจาก การอบรมสั่งสอนหรือการบอกเล่า การอ่านหนังสือต่างๆ และการรับรู้จากสื่อมวลชนต่างๆ
จุดมุ่งหมายของการเรียนรู้
พฤติกรรมการเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายของนักการศึกษาซึ่งกำหนดโดย บลูม และคณะ
(Bloom and Others ) มุ่งพัฒนาผู้เรียนใน 3 ด้าน ดังนี้
1.ด้านพุทธิพิสัย
2.ด้านเจตพิสัย
3.ด้านทักษะพิสัย
องค์ประกอบสำคัญของการเรียนรู้
ดอลลาร์ด และมิลเลอร์ (Dallard and Miller) เสนอว่าการเรียนรู้ มีองค์ประกอบสำคัญ 4 ประการ คือ
1.แรงขับ (Drive)
2.สิ่งเร้า (Stimulus)
3.การตอบสนอง (Response)
4.การเสริมแรง (Reinforcement)
ลำดับขั้นของการเรียนรู้
1.ประสบการณ์
2.ความเข้าใจ
3.ความนึกคิด
การถ่ายโยงการเรียนรู้
การถ่ายโยงการเรียนรู้เกิดขึ้นได้ 2 ลักษณะ คือ
การถ่ายโยงการเรียนรู้ทางบวก คือ การถ่ายโยงการเรียนรู้ชนิดที่ผลของการเรียนรู้งานหนึ่งช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อีกงานหนึ่งได้เร็วขึ้น ง่ายขึ้น หรือดีขึ้น
การถ่ายโยงการเรียนรู้ทางลบ (Negative Transfer) คือการถ่ายโยงการเรียนรู้ชนิดที่ผลการเรียนรู้งานหนึ่งไปขัดขวางทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อีกงานหนึ่งได้ช้าลง หรือยากขึ้นและไม่ได้ดีเท่าที่ควร
ธรรมชาติของการเรียนรู้
1.การเรียนรู้เป็นกระบวนการ การเกิดการเรียนรู้ของบุคคลจะมีกระบวนการของการเรียนรู้จากการไม่รู้ไปสู่การเรียนรู้
2.การเรียนรู้ไม่ใช่วุฒิภาวะแต่การเรียนรู้อาศัยวุฒิภาวะ
3.การเรียนรู้เกิดได้ง่าย ถ้าสิ่งที่เรียนเป็นสิ่งที่มีความหมายต่อผู้เรียน
4.การเรียนรู้แตกต่างกันตามตัวบุคคลและวิธีการในการเรียน
ความสำคัญของจิตวิทยาการเรียนการสอน
ทำให้รู้จักลักษณะนิสัยของผู้เรียน ความเข้าใจพัฒนาการบุคลิกภาพบางอย่างของผู้เรียน จึงทำ ให้ครูเข้าใจความแตกต่างระหว่างบุคคล ทราบถึงทฤษฎี หลักการเรียนรู้ รวมทั้งหลักการสอน
ทฤษฎีสัมพันธ์เชื่อมโยงของธอร์นไดค์
" เขาเชื่อว่า "คนเราจะเลือกทำในสิ่งก่อให้เกิดความพึงพอใจและจะหลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้ไม่พึง พอใจ"
กฎการเรียนรู้ของธอร์นไดค์
1.กฎแห่งผล คือ ผลแห่งปฏิกิริยาตอบสนองใดที่เป็นที่น่าพอใจ อินทรีย์ย่อมกระทำปฏิกิริยานั้นซ้ำอีกและผลของปฏิกิริยาใดไม่เป็นที่พอใจบุคคลจะหลีกเลี่ยงไม่ทำปฏิกิริยานั้นซ้ำอีก
2.กฎแห่งความพร้อม มีใจความสำคัญ 3 ประเด็น คือ
2.1 ถ้าอินทรีย์พร้อมที่จะเรียนรู้แล้วได้เรียน อินทรีย์จะเกิดความพอใจ
2.2 ถ้าอินทรีย์พร้อมที่จะเรียนรู้แล้วไม่ได้เรียน จะเกิดความรำคาญใจ
2.3 ถ้าอินทรีย์ไม่พร้อมที่จะเรียนรู้แล้วถูกบังคับให้เรียน จะเกิดความรำคาญใจ
3.กฎแห่งการฝึกหัด คือ พฤติกรรมใดที่ได้มีโอกาสกระทำซ้ำบ่อยๆ และมีการปรับปรุงอยู่เสมอ ย่อมก่อให้เกิดความคล่องแคล่วชำนิชำนาญ สิ่งใดที่ทอดทิ้งไปนานย่อมกระทำได้ไม่ดีเหมือนเดิมหรืออาจทำให้ลืมได้
ทฤษฎีการเรียนรู้
ทฤษฎีการเรียนรู้มีอิทธิพลต่อการจัดการเรียนการสอนมาก เพราะจะเป็นแนวทางในการกำหนดปรัชญาการศึกษาและการจัดประสบการณ์ เนื่องจากทฤษฎีการเรียนรู้เป็นสิ่งที่อธิบายถึงกระบวนการ วิธีการและเงื่อนไขที่จะทำให้เกิดการเรียนรู้และตรวจสอบว่าพฤติกรรมของมนุษย์ มีการเปลี่ยนแปลงได้อย่างไร
การนำหลักการมาประยุกต์ใช้ในการสอน
1.ครูสามารถนำหลักการเรียนรู้ของทฤษฎีนี้มาทำความเข้าใจพฤติกรรมของผู้เรียนที่แสดงออกถึงอารมณ์ ความรู้สึกทั้งด้านดีและไม่ดี รวมทั้งเจตคติต่อสิ่งแวดล้อมต่างๆ
2.ครูควรใช้หลักการเรียนรู้จากทฤษฎีปลูกฝังความรู้สึกและเจตคติที่ดีต่อเนื้อหาวิชา กิจกรรมนักเรียน ครูผู้สอนและสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องให้เกิดในตัวผู้เรียน
3.ครูสามารถป้องกันความรู้สึกล้มเหลว ผิดหวัง และวิตกกังวลของผู้เรียนได้
การปรับพฤติกรรมและการแต่งพฤติกรรม
การปรับพฤติกรรม เป็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ มาเป็นพฤติกรรมที่พึงประสงค์ โดยใช้หลักการเสริมแรงและการลงโทษ
การแต่งพฤติกรรม เป็นการเสริมสร้างให้เกิดพฤติกรรมใหม่ โดยใช้วิธีการเสริมแรงกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมทีละเล็กทีละน้อย จนกระทั่งเกิดพฤติกรรมตามต้องการ
บทเรียนสำเร็จรูป
เป็นบทเรียนโปรแกรมที่นักการศึกษา หรือครูผู้สอนสร้างขึ้น ประกอบด้วย เนื้อหา กิจกรรม คำถามและ คำเฉลย การสร้างบทเรียนโปรแกรมใช้หลักของสกินเนอคือเมื่อผู้เรียนศึกษาเนื้อหาและทำกิจกรรม
จบ 1 บท จะมีคำถามยั่วยุให้ทดสอบความรู้ความสามารถ แล้วมีคำเฉลยเป็นแรงเสริมให้อยากเรียนบทต่อๆ ไปอีก
การนำความรู้ไปใช้
ก่อนที่ผู้เรียนจะเกิดความรู้ใหม่ ต้องแน่ใจก่อนว่า ผู้เรียนมีความรู้พื้นฐานที่เกี่ยวข้อง กับความรู้ใหม่มาแล้ว และพยายามสอนให้ผู้เรียนเข้าใจจุดมุ่งหมายของการเรียน เพราะจะเกิดประโยชน์แก่ตนเองได้ ไม่ลงโทษผู้เรียนเร็วหรือช้ากว่าคนอื่นๆ ไม่มุ่งหวังว่าผู้เรียนจะต้องเกิดการเรียนรู้ที่ใช้เวลาเท่ากัน ในการสอนบทเรียนที่คล้ายกัน ต้องแน่ใจก่อนว่าผู้เรียนเข้าใจแล้ว จึงค่อยสอนบทต่อไป สุดท้าย ควรพยายามทำให้ผู้เรียนมองเห็นความสัมพันธ์ของบทเรียน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น